วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุป วิจัยคณิตศาสตร์ 

เรื่อง.. ผลของการใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ประกอบบัตรภาพกับกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามที่มีต่อความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุป


เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง

5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ  บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี  ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด 

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

               1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
               2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
               3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
               4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
               5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
               6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย
               7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้


ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ 

                1. ทักษะในการจัดหมู่
                2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
                3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)


วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14 วันศุกร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


การเรียน การสอน

 - อาจารย์แจกกระดาษให้ นักศึกษาเช็คชื่อ

 - แต่บรรยายกาศให้ห้องเรียนวันนี้ไม่เคยมีใครมาเรียนเลย เพราะ เพื่อนมีเีรียนเลยยังไม่มาเรียนขนานเลยเวลาเรียนมาแล้ว 14.30 น แต่พอสักพักเพื่อนๆก็ทยอยกันมา แต่พออาจารย์รอเพื่อนมาจนคบ อาจารย์ได้เปิด










วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



ครั้งที่ 13 วันศุกร์ที่ 8 ภุมภาพันธ์ 2556

การเรียนการสอนกลุ่มที่ 1( ไข่ ) ออกไปนำเสนอการสอนที่ต้องแก้ไขคือเปลี่ยนคำถามให้เด็กตื่นเต้นสนใจ การกะประมาณจากปริมาตรที่มีอยู่ เรีบงไขใส่ลังไข่

กลุ่มที่ 2 ( ผลไม้ ) ถามเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง เขียนบันทึกให้เด็กรู้เรื่องภาษาให้เด็กได้ประสบการณ์ทางภาษา การแบ่งความรู้ เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าปิดตะกร้าอย่าเพิ่งให้เด็กๆเห็นเด็กจะได้สนใจ นับผลไม้ที่มีทั้งหมด ตัวสุดท้ายจะเป็นตัวบอกจำนวน แบ่งผลไม้ที่มีสีแดงมีทั้งหมดกี่ผล  ผลไม้อะไรที่ไม่มีสีแดงมีทั้งหมดเท่าไร ดูรูปทรง ดมกลิ่น และสี

กลุ่มที่ 1 ออกมานำเสนอใหม่ สรุปนิทานเป็นเรื่องราว แต่งเป็นนิทานหรือทำเป็นหุ่นหรือสรุปจากเด็กแล้วทำเป็น MyMap

อาทิตย์หน้า กลุ่มที่เหลือออกไปนำเสนอแผนการจัดกิจกรรม








วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 23 มกราคม 2556

กิจกรรมจัดเลี้ยงปีใหม่ 

ภายในงานนึ้มีการจับฉลากของเอกปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 โดยอาจารย์ให้นำของขวํญมาคลละ 1 ชิ้น และภายในงานมีอาหารให้รับประทานอร่อยมากๆ









ครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556

- ส่งงานกลุ่ม my map

- สิ่งที่แก้ไข คือ รูปแบบ my map ควรเปลียนเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กและให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

- เด็กตอบตามตาเห็น เป็นนามธรรมหรือการใช้เหตุผล ไม่ได้อยู่ในขั้นอนุรักษ์ เมื่อเด็กมีเหตุผลควรนำประสบการณ์มาเชื่อมให้เข้ากันได้

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556

กิจกรรมในห้องเรียนอาจารย์ให้ส่ง Ming Mapping งานกลุ่มของตัวเองพร้อมงานเดี่ยวของตัวเองแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับผลงานที่ส่งมาให้อาจารย์ดู

วิธีการเลือกหน่วย

1.เรื่องใกล้ตัว
2.มีประโยชน์กับเด็ก
3.เด็กรู้จัก
4.เสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก
5.เรื่องง่ายๆที่เด็กต้องรู้
6.เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7.ความสำคัญกับเด็ก
8.ผลกระทบกับเด็ก

ข้อสรุป

ถ้าเด็กอยากรู้อะไรครูควรไปสำรวจสถานที่ว่าอะไรเหมาะสมอะไรไม่เหมาะสมและนะมาปรับปรุงหรือบูรณาเกี่ยวกับเด็กและทำให้เด็กเข้าใจ










วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556



ครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556

อาจารย์ให้ส่งงานกลุ่มของทุกกลุ่มและออกมานำเสนอผลงานของตนเองก็จะมีทั้งหมด 3 กลุ่ม


กลุ่มที่1 ประดิษฐ์ลูกคิดจากเศษวัสดุเหลือใช้ สอนในเรื่อง การนับเลข การบอกจำนวน การดำเนินการ


กลุ่มที่2 ประดิษฐ์การนำเสนอข้อมลูเป็นกราฟกลุ่มนึ้เป็นกลุ่มของข้าพเจ้าเอง ซึ่งตรงกับมาตราฐานที่6
คือ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของ อาจารย์นิตยาและอาจารย์เยาวภา

กลุ่มที่3 ประดิษฐ์ปฎิทิน วันและเดือน สอนเกี่ยวกับการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ ปริมาณ


ข้อเสนอแนะของอาจารย์

1.อาจารย์ให้กลับไปทำผลงานของตัวเองให้ดีกว่าเก่า
2.อาจารย์ให้คำปรึกษาที่ดีแก่นักศึกษา